ลักษณะของหนอนเจาะฝักข้าวโพด
"หนอนเจาะฝักข้าวโพด" ขนาดตัวหนอนโตเต็มที่ยาว 35 - 40 มิลลิเมตร มีสีแตกต่างกันเช่น เหลือง น้ำตาล เขียว เทา เป็นต้น และมีแถบสีดำใหญ่ พาดตามคด้านข้าง ส่วนหัวมีสีเหลืองน้ำตาล ระยะเข้าดักแด้ จะมีสีเขียว ตัวนิ่มแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสีน้ำตาลผิวหนาขึ้นและเป็นสีน้ำตาลดำก่อนที่ออกเป็นตัวเต็มวัยผีเสื้อ
ลักษณะของข้าวโพดหวานเมื่อถูกทำลายด้วยหนอนเจาะฝักข้าวโพด
- ตัวหนอนเจาะฝักข้าวโพดจะกัดกินเส้นไหมของฝัก และเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในบริเวณปลายฝักข้าวโพดหวาน
- ถ้าหนอนเจาะฝักข้าวโพดระบาดมากปลายฝักข้าวโพดหวานจะเน่า เนื่องจากความชื้นจากมูลของหนอนเจาะฝักข้าวโพดที่ทิ้งไว้
- เนื่องจากหนอนเจาะฝักข้าวโพดกัดกินเส้นไหมจนแหว่งหมดไป ทำให้ข้าวโพดหวานไม่ได้รับการผสมพันธุ์ ฝักที่ได้จึงไม่ติดเมล็ด
วิธีป้องกันหนอนเจาะฝักข้าวโพด
- สำรวจแปลง สวนของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- ข้าวโพดหวานที่ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก ให้ใช้วิธีการจับหนอนเจาะฝักข้าวโพดที่ปลายฝักทิ้ง หรือใช้มือบีบปลายฝักให้หนอนตายโดยไม่ต้องเก็บทิ้ง และควรเดินเก็บหนอนทุกวันในระยะติดฝัก
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อฝักติดเมล็ดแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลง